วิสัยทัศน์ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
"ภายในปี 2565 สหกรณ์และเกษตรกรมีความเข้มแข็ง
ด้านการเงินการบัญชีที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้"
พันธกิจ
1. ตรวจสอบบัญชีและควบคุมคุณภาพการสอบบัญชีสหกรณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
2. พัฒนาการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน
3. กำกับการสอบบัญชีสหกรณ์ที่ดำเนินการโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและบุคคลอื่น
4. พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและการเตือนภัยทางการเงินสหกรณ์
5. ถ่ายทอดความรู้ด้านการตรวจสอบกิจการและการจัดทำบัญชีเกษตรกรและประชาชนทั่วไป
ภารกิจตามกฏหมาย
1. ดำเนินการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. กำหนดระบบบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีให้เหมาะสมกับธุรกิจของสหกรณ์
และกลุ่มเกษตรกร
3. ให้คำปรึกษาแนะนำและให้ความรู้ด้านการบริหารการเงินและการบัญชีแก่คณะกรรมการ
และสมาชิกของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และบุคลากรเครือข่าย
4. ถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมการจัดทำบัญชีให้แก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ
วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเป้าหมายตามโครงการพระราชดำริ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป
5. กำกับดูแลการสอบบัญชีสหกรณ์โดยผู้สอบบัญชีภาคเอกชน
6. จัดทำรายงานภาวะเศรษฐกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนด
นโยบาย และวางแผนพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ค่านิยมหลัก
กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาความเข้มแข็งด้านการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร
1. สร้างความเชื่อมั่นและโปร่งใสให้กับสหกรณ์ และสถาบันเกษตรกร
2. พัฒนาความสามารถด้านการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร
3. พัฒนาระบบการรายงานภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
4. พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการบัญชีและการสอบบัญชีสหกรณ์
กลยุทธ์ที่ 2 : ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการจัดทำบัญชีแก่เกษตรกร
1. สร้างความตระหนักรู้ประโยชน์การจัดทำบัญชีแก่เกษตรกร
2. เสริมสร้างวินัยทางการเงินภาคครัวเรือน
3. ปรับเปลี่ยนการประกอบอาชีพโดยใช้ข้อมูลทางบัญชี
4. ส่งเสริมการจัดทำบัญชีแก่กลุ่มเป้าหมายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
5. ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายด้านบัญชี
กลยุทธ์ที่ 3 : พัฒนาระบบการบริหารจัดการสู่องค์กรดิจิทัล
1. ปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการองค์กรให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง
ของสหกรณ์ และสถาบันเกษตรกร
2. บริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและสร้างแรงจูงใจเพื่อรองรับวิกฤติกำลังคน
3. พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและเสริมสร้างสมรรถนะผู้สอบบัญชีเพื่อการสอบบัญชีแบบมืออาชีพ
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
5. สร้างภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
6. สนับสนุนการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
|